Thursday, June 13, 2013

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ 10 ประการของ วิลเลียม เจ โอ'นีล

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ 10 ประการของ วิลเลียม เจ โอ'นีล (ผู้ก่อตั้ง นสพ. Investor's Business Daily, สมาชิกตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กที่มีอายุน้อยที่สุด, ผู้คิดค้นกลยุทธ์การลงทุนแนว CANSLIM)

1. วิธีคิดของคุณคือทุกสิ่งทุกอย่าง : จงคิดในเชิงบวก คิดถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว จงตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเชิงลบ

2. กำหนดความฝันและเป้าหมาย : เขียนเป้าหมายของคุณลงในกระดาษและออกแบบแผนการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น

3.ลงมือทำ : เป้าหมายจะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่ลงมือทำ อย่ากลัวที่จะเริ่ม จงลงมือทำ

4.อย่าหยุดเรียนรู้ : กลับไปเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือเข้ารับการอบรมทักษะใหม่ ๆ

5.ขยันและไม่ยอมแพ้ : ความสำเร็จเป็นเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งเร็ว เพราะฉะนั้นจงอย่ายอมแพ้

6. เรียนรู้การวิเคราะห์รายละเอียด : ค้นหาความจริง รวบรวมข้อมูล เรียนรู้จากความผิดพลาด

7. จดจ่อกับเวลาและเงินของคุณ : อย่าให้ใครหรือสิ่งใดทำให้คุณวอกแวก

8. ไม่กลัวที่จะทำสิ่งใหม่ กล้าที่จะแตกต่าง : การเดินทางตามผู้อ่น คือหนทางสู่การเป็นอะไรที่ธรรมดาหรือ "งั้นๆ"

9. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : คนเราไม่สามารถอยู่คนเดียว จงเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น

10. จงซื่อสัตย์ เชื่อใจได้ รับผิดชอบ : มิฉะนั้นแล้ว ข้อ 1-9 ก็ไร้ความหมาย

ที่มา : หนังสือ Frobes BEST BUSINESS MISTAKES


copy มาจาก Facebook https://www.facebook.com/snilket/posts/10151679924876469

Sunday, June 9, 2013

ธนาคารควรปล่อย Housing Loan อย่างไร

ธนาคารปล่อย Housing Loan อย่างไร

สมมุติอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง MRR = 7%
มีลูกค้าที่อยากกู้บ้าน 1000 คน


1. ธนาคารปล่อยกู้บ้าน เฉพาะคนที่เหมาะสม ตามสมมุติฐานดังนี้
  • คนกู้บ้านต้องมีอาชีพที่มั่นคง (แพทย์ อัยการ ผู้พิพากษา รัฐวิสหกิจชั้นดี เอกชนTop100)
  • ทำประกันชีวิต
  • บ้านมีมูลค่าพื้นฐานสูงกว่าจำนวนเงินที่ขอกู้
รวมแล้วประมาณ 400 คน ที่อัตราดอกเบี้ย MRR - 2%  โดยมีข้อเสียคือ ใช้เวลานาน ช้า และ บางคนไม่สามารถกู็ได้


2. ธนาคารปล่อยกู้บ้าน ทุกคน ตามสมมุติฐานดังนี้
  • ธนาคารมีการดูแล model ที่เหมาะสม เช่น 
    • ประชากรเมืองนี้ default rate 80% 
    • recovery value 70%
  • มีการปรับดอกเบี้ยสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยง
รวมแล้วประมาณ 950 คน อัตราดอกเบี้ย MRR - 0.5% มีข้อดีคือ ปล่อยกู้ทุกคน สะดวก รวดเร็ว ชื่อเสี่ยงดี

อาจจะแปลกดี ที่เราเห็นแนวทางการทำงานทั้ง 2 แบบในประเทศไทย  และแปลกดี ที่ลูกค้าบางครั้งไม่ทราบว่า แบบที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างไร แต่มักจะชอบไปแบบที่ 2 ทั้งๆที่จ่ายดอกเบี้ยแพงกว่าเยอะ

แบบไหนดีกว่ากัน แบบที่1 หรือ แบบที่ 2 ??

สมมุติ ปล่อยกู้บ้านเยอะๆ ให้กู้ทุกคน ไม่ต้องคิดมาก 3วันเอกสารครบเรียบร้อยปล่อยแน่
อัตราดอกเบี้ยแพงๆ ให้ดอกเบี้ยสวยๆช่วงต้น เช่น 0% 3 เดือนที่เหลือเฉลี่ย 7.5% 
ห้ามrefinance 3 ปี ฟันกำไรเหนาะๆไป3ปี

พอครบ 3 ปี ลูกค้าก็มาขอ refinance
ลูกค้าไม่ค่อยดีปล่อยไปอยู่แบงค์อื่น ลูกค้าดีๆ เก็บไว้ลดดอกให้

(ถ้าทำงี้ได้นี่กำไรเหนาะๆเลยเนอะ ภาพก็ดูดี แบงค์ปล่อยกู้ง่าย ทำงานรวดเร็วฉับไว)

จริงๆพวกนี้ความเสี่ยงแบงค์ดูง่ายมากนะ ถ้าอยากทำจริงๆ 
ดู average default probability ดู average collateral value ดูนิดดูหน่อยก็ได้ 
ขึ้นอยู่กับว่า กล้าหรือปล่าว ยิ่งต่างประเทศ เอาไปทำ MBS ยิ่งง่ายใหญ่เลย