Sunday, September 4, 2011

Deadlock

ไม่รู้ว่าใครมีวิธีทำแบบนี้เหมือนกันบ้างหรือไม่?

ปรกติที่ห้องหรือที่ทำงาน จะมีตู้หรือชั้นที่ต้องล๊อกกุญแจไว้หลายอัน
ทำให้เราต้องพกกุญแจไว้หลายๆดอก พวงใหญ่มาก
วิธีที่ผมใช้งานจริงๆคือ
เอากุญแจสำหรับไขตู้อื่น ไปไว้อีกตู้ที่ล๊อกกุญแจไว้รวมไว้อยู่ในตู้เดียว
แล้วก็อาจจะมีเงื่อนไขสำรอง เช่น มีกุญแจสำรองสำหรับตู้หลัก อยู่ในที่ๆอื่น
(ซึ่งก็อาจจะถูก lock ในตู้เหมือนกัน)

นิสัยแย่ๆอีกอย่างคือ ไม่ชอบพกกุญแจเยอะๆติดตัว
ดังนั้นแม้ว่ากุญแจหลักๆจะอยู่ติดตัว ผมก็ยังสามารถเอาไปวางเก็บในที่ๆอื่นชั่วคราวได้อยู่ดี


ปัญหากุญแจหาย ลืมกุญแจ จึงเป็นปัญหาที่ใหญ่ และ เจอได้บ่อยมากสำหรับผม
และผลที่ตามมา มันจะรุนแรงมาก เพราะจะทำให้ไขตู้อื่นไม่ได้อีกเป็นลูกโซ่

แถมหลายๆครั้ง ก็ทำให้วุ่นวายอีกต่างหาก
เช่น ตอนเช้าเร่งๆ จะหยิบนาฬิกาที่ใส่เฉพาะโอกาสพิเศษ

ก็ต้องหยิบจากตู้A ซึ่งกุญแจเก็บไว้ในตู้Bที่โต๊ะในห้องทำงาน
ซึ่งกุญแจตู้Bมันอยู่ในกุญแจที่พกติดตัวตลอดเวลา ซึ่งเมื่อวานดันทิ้งเอาไว้ในรถ
เพราะขี้เกียจพกติดตัวไปทำงาน ดังนั้นต้องเดินไปเอาที่รถ
แต่ว่าตอนนี้ยังแต่งตัวไม่เสร็จ ไม่ควรเดินไปที่รถ


สุดท้ายก็ขี้เกียจ ไม่ต้องใส่นาฬิกาเรือนแห่งความยุ่งยากนั้นก็ได้ (55)


ปรกติดูแลจัดการ กุญแจของตู้กันยังไงครับ??


Saturday, August 27, 2011

MINDFULNESS OF DEATH

MINDFULNESS OF DEATH หรือ การเจริญมรณสติ


มรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะ ว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่น ๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเราเมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วยังจะมีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็ต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสติ นั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไร ๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว

เมื่อผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเช้าออก นั้นจึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
วันหนึ่ง ๆ เราคิดถึงความตายสักกี่ครั้ง วัน เดือน ปี ล่วงไป ๆ ไม่เคยนึกถึงความตายสักทีเลยก็มี จึงว่าเป็นผู้ประมาท ความประมาทคือความเลินเล่อเผลอสติ ไม่มีสติในตัว ความประมาทจะพาไปถึงไหน ความประมาทคือหนทานแห่งความตาย คำว่า “ ทางแห่งความตาย ” นั้นยังไม่ทันตายหรอก แต่ผู้ประมาทได้ชื่อว่าตายแล้ว เพราะการไม่มีสติก็เหมือนกับคนตาย ความไม่ประมาท คือมีสติอยู่ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นทางแห่งความไม่ตาย ที่มีสติ สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อทุกขณะนั่นแหละ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย 

คนเราเมื่อจะถึงที่สุดเวลาจะตายจริง ๆ มันต้องตัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สติที่เรารักษาไว้ดีแล้วก็จะไม่ปรากฏ มันจะปรากฏแต่ กรรมนิมิต คตินิมิต จะไปเกิดใน สุคติ หรือ ทุคติ ต้องมีกรรมนิมิตปรากฏไปตามกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดมิจฉาจาร เป็นต้น นี้เรียกว่า “ กรรมชั่ว ”

เรียบเรียงบางส่วนจากคำสอนของ โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับ 43 พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara26.htm

Thursday, August 25, 2011

Panic Disorder 2

http://www.ra.mahidol.ac.th/mental/panic.html

Panic disorder จัดเป็น anxiety disorders ชนิดที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยมักมาพบแพทย์อย่างฉุกเฉินเมื่อเกิดอาการ panic แต่ละครั้ง เนื่องจากกลัวว่าจะเสียชีวิตในทันที หรือคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง WHO รายงานว่ามีอุบัติการณ์ของโรคนี้ราวร้อยละ 1.1 ผลที่ตามมาของโรคนี้ยังก่อให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมาได้อีกหลายประการ เช่น major depression, suicide  , alcohol and drug abuse เป็นต้น

 อาการ
เดิมเคยเรียกโรคนี้ว่า acute anxiety ตามความเฉียบพลันของอาการ หรือตามการจำแนกโรคขององค์การอนามัยโลกเรียกว่า episodic paroxysmal anxiety disorder เนื่องจากอาการเกิดรุนแรงเป็นช่วงๆ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้คือประมาณ 25 ปี
ตามเกณฑ์วินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันปี 1994 นั้น โรค panic disorder มีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1) มี panic attack (ได้แก่ การเกิดอาการต่อไปนี้ขึ้นอย่างเฉียบพลัน : แน่นหน้าอก ใจสั่น กลัว หายใจไม่ออก เวียนศีรษะ จุกแน่นท้อง มือเท้าเย็นชา รู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ เหมือนตัวเองกำลังจะตายหรือจะเป็นบ้า) ที่มีลักษณะเริ่มเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แล้วความรุนแรงจะค่อยๆ ลดลงจนหายไปใน 60 นาที
2) เกิดอาการบ่อยๆหรือหากเป็นเพียง 1 ครั้ง ก็ต้องทำให้ผู้ป่วยมีความกลัวว่าจะเป็นซ้ำ
3) ผู้ป่วยไม่สามารถคาดล่วงหน้าได้ว่า จะเกิด panic attack ขึ้นอีกครั้งเมื่อใด(unexpected) มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการขณะนอนหลับจนต้องตื่นขึ้น

จะเห็นได้ว่า อาการ panic นั้น คล้ายกับอาการของโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือโรคของระบบประสาทการทรงตัวอย่างมาก เนื่องจากพบว่ามีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติกับระบบ อวัยวะดังกล่าว  ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จึงไปพบแพทย์สาขาดังกล่าว มีรายงานว่า ผู้ป่วยในคลินิกโรคหัวใจที่มีอาการดังกล่าว แล้วตรวจคลื่นหัวใจหรือแม้แต่สวนเส้นเลือดหัวใจผลเป็นปกติ แท้จริงเป็น panic disorder กว่าร้อยละ 50-60  หากเป็นถึงระดับเป็น major depression อันเป็นผลจากการเป็น panic disorder มานาน แต่ผู้ป่วยยังไม่ทราบสาเหตุ ไม่หาย ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ทั้งที่ร่างกายแข็งแรง ผิดหวังและละอายกับตนเองและครอบครัว บางรายอาจหันไปใช้ยาเสพติดหรือดื่มสุราหรือบางรายพยายามฆ่าตัวตาย

 สาเหตุ
panic disorder เป็นผลจากทั้งปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และพฤติกรรมเรียนรู้ ในช่วงทศวรรษหลังๆ มีการศึกษาจนเข้าใจถึงปัจจัยด้านชีวภาพมากขึ้น ยังผลให้สามารถใช้ยารักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม
 ผู้ป่วยแต่ละรายเกิดโรคนี้โดยมีบทบาทของแต่ละสาเหตุหนักเบาไม่เท่ากัน เช่น บางคนกำลังมีความกังวลกับเรื่องในชีวิตมาก โดยที่ไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมาก่อน ในขณะที่บางคน อาจไม่มีเรื่องกังวลกระตุ้นเลย แต่เกิดมีโรคเพราะปัจจัยทางชีวภาพก็ได้ พบว่าผู้ป่วยบางคนเกิดอาการเมื่อมีการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติจากภายในร่างกายเองขึ้นก่อน เช่น การหิว แน่นท้อง แล้วส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้น locus ceruleus อีกต่อหนึ่ง
การรักษา
การดูแลทางด้านจิตใจ
  • ควรแสดงความเข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วยว่ารุนแรงตามที่เขารู้สึกจริง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษา ไม่ใช่ ไม่เป็นอะไร อย่าคิดมากอย่างที่เราตรวจพบ อาจกล่าวว่า หมอเข้าใจว่า เวลาเป็นคงน่ากลัว ทรมานมาก
  • ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า อาการที่เป็นจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต เพราะไม่มีโรคทางกายที่รุนแรง การเกิดอาการเป็นเพราะระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งควบคุมอวัยวะภายในต่างๆ ทำงานไวเกินปกติ จึงตรวจไม่พบโรคอะไรที่หัวใจ หรือปอดตามที่เขาสงสัย อาจวาดรูปสมอง โยงกับรูปหัวใจ หรืออวัยวะที่ผู้ป่วยเกิดอาการมากๆ ให้ดู เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
  • หากผู้ป่วยปฏิเสธว่า ตนไม่มีเรื่องเครียด ไม่ต้องคาดคั้นว่า ผู้ป่วยต้องมีเรื่องเครียดแน่นอน เนื่องจากบางรายอาจมีอาการขึ้นเองจากปัจจัยทางชีวภาพของเขา หรือบางรายก็ยังกังวลกับอาการ panic เกินกว่าจะเชื่อมโยงได้ว่า ความกังวลในชีวิตทำให้เขามีอาการ panic ได้
  • ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า โรคนี้รักษาหายได้แล้วแจ้งแผนการรักษา (ที่จะได้กล่าวต่อไป) ให้ผู้ป่วยทราบแนวทางไว้
  • สอนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้บ้าง เช่น การหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ การหายใจในถุงกระดาษหากมี hyperventilation เป็นอาการเด่น หรือการกินยาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้
  • แพทย์อาจขอพบญาติของผู้ป่วยเพื่ออธิบายหรือปรับเจตคติที่มีต่อผู้ป่วยให้ดีขึ้น ( เพื่อมิให้่มองว่าผู้ป่วยแกล้งทำเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบหรือเป็นเพียงผู้ป่วยคิดมากไปเอง
การรักษาด้วยยา
มียากลุ่ม benzodiazepine ที่มี potency สูง และยาต้านอารมณ์เศร้าหลายชนิดที่ได้รับการศึกษาทดลองแล้วสามารถรักษาโรค panic disorder ได้ผลดี ตามตารางที่ 2
 ตารางที่ 2 ยารักษา panic disorders

generic name, trade name, initial dose, max dose (mg/day)
Benzodiazepine
lorazepam, Ativan, 0.5 mg tid., 4-6
alprazolam, Xanax, 0.25mg tid., 4-6
clonazepam, Rivotril, 0.5 mg bid, 1-4
Antidepressants
imipramine, Tofranil, 25 mg hs, 75-150
clomipramine, Anafranil, 25 mg hs, 75-150
fluoxetine, Prozac, 20 mg am, 40-80
fluvoxamine, Faverine 50 mg bid, 150-300

Panic Disorder

โรคแพนิค (Panic Disorder)
โดย : ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์
http://health.kapook.com/view3147.html
http://www.infomental.com/hvs.htm
         โรคแพนิค เป็น โรคชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆ แล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจ และ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน หรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย 

         โดย ที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคแพนิค จะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือเป็นบ้า  อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นทันทีและค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลีย และในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

         อาการ โรคแพนิค จะ เกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยาก แต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกต และเชื่อมโยงหาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยง และรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่น ผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถก็จะไม่กล้าขับรถ บางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้าขึ้นสะพานลอย ผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วย ในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้ เช่น การออกกำลังหนัก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

         ขณะ เกิดอาการ ผู้ป่วย โรคแพนิค มักกลัวและรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมา ผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกัน ผู้ป่วย โรคแพนิค หลาย ๆ รายไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด และไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้

         ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเรียกว่า อาการแพนิค (panic attack) ซึ่งแปลว่า "ตื่นตระหนก" เราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่าง ๆ จะคล้ายกับอาการของคนที่กำลังตื่นตระหนก ใน โรคแพนิค ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุกระตุ้น และคาดเดาไม่ถูกว่าเมื่อไรจะเป็นเมื่อไรจะไม่เป็น การไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้น

          อาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานาน บางคนเป็นมาหลายปี เกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้ง แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักที บางคนเป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล "แทบไม่ทัน" แต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป "ทัน" ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย

         ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าผู้ป่วย โรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ “ตื่นตระหนก” โดยเป็น ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท บางอย่างเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษา โรคแพนิค จะมี 2 กลุ่ม คือ        
         
1. ยาป้องกัน
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้ 

         เพราะ ในช่วงแรก ๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆ หยุดยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีแบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อย ๆ ลดยาลงช้า ๆ
       
         2. ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา เป็นทีกินที กินแล้วหายเร็ว ได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง (แปลว่าไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต) แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ (2-3 สัปดาห์ขึ้นไป) จะเกิดการติดยาและเลิกยากและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการแพนิค ทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้นแพทย์จะเน้นกับผู้ป่วยว่าให้กินเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ยังไม่เป็นห้ามกิน รอให้เริ่มมีอาการแล้วค่อยกินก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว

Xanax

ยา Xanax เป็นชื่อทางการค้าของยาที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง มีผลในการ
กล่อมประสาท ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ก็คือ สารอัปราโซแลม (Alprazolam) จัดอยู่ในกลุ่ม
Benzodiazepine เป็นยาที่การแพทย์ใช้กันมานานแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยที่มี
การอาการวิตกกังวล  ลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือ
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่ได้รับ
อนุญาตประกอบการ หรือขายตามร้านขายยาโดยเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตและการซื้อขายจะ
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์กํากับ
ชื่อทางการค้า Xanax
สารเคมีที่ออกฤทธิ์ Alprazolam
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ 8-chioro-1-methyl-6-phenyl-4H-s-tirazolo (4,3,-a) (1,4)
benzodiazepine
ปริมาณ มีปริมาณตั้งแต่ 0.25 กรัม 0.5 กรัม และ 1 กรัมต่อเม็ด

กฎหมาย จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
โทษทางกฎหมาย ผู้ขายโดยไม่มีใบอนุญาตจะถูกดํ าเนินคดีโดยโทษสุงสุดจําคุก
ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง มีผลกล่อมประสาท ทางการแพทย์
ใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลมากเกินปกติ  เพราะมีฤทธิ์ทําให้เกิดอาการสงบ
แต่ไม่ถึงกับหลับ แต่บางครั้งอาจทําให้หลับได้แต่ก็เป็นหลับที่เกิด
จากอาการอ่อนเพลียของร่างกายที่ต้องการการพักผ่อนมากกว่า
นอกจากนี้ใช้ในการลดอาการวิตกกังวลแล้วยังใช้ลดความเครียด
ผ่อนคลายความตึงเครียดกล้ามเนื้อ ควบคุมอาการบางชนิดของ
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะแนะนําให้ใช้ยาในระยะ
สั้น ๆ เท่านั้น เพราะหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทําให้เกิดผล
ข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
ผลระยะสั้น ผ่อนคลายความวินกกังวล ความตึงเคียดกล้ามเนื้อ ลดความ
ตื่นตัวทางอารมณ์

ผลระยะยาว ยากล่อมประสาทส่วนมากจะสะสมในเนื้อเยื่อของร่างกายระหว่าง
การใช้ยาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบว่าจะ
สะสมในตัว สมอง หัวใจ และปอดของทารกในครรภ์หากมารดา
ใช้ยานี้ซึ่งจะทํ าให้เด็กเกิดอาการขาดยาหลังคลอด และการใช้ยา
นี้ระยะยาวนานอาจนํ าไปสู่ความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลด
อาการก้าวร้าวในผู้ป่วยบางราย
การดื้อยาและการเสพติด การใช้ทั่วไปอาจนํ าไปสู่การดื้อยาซึ่งต้องเพิ่มปริมาณเพื่อทํ าให้ฤทธิ์
ยามีประสิทธิภาพตามต้องการ การเสพติดทางร่างกายและจิตใจ
อาจเกิดขึ้นได้หากใช้ในปริมาณมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา
ยาวนาน

อาการขาดยา อาการขาดในกลุ่ม Benzodiazepine อาจเกิดขึ้นได้หากมีการใช้
ในปริมาณที่มากอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลายาวนาน โดยจะ
ทํ าให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อ
ออกมากกระวนกระวายใจ เกิดความอ่อนเพลียทางร่างกายและจิตใจ
ผลข้างเคียง หากใช้ในปริมาณมาก ๆ จะทํ าให้มีอาการอ่อนเพลียทางร่างกาย
และจิตใจ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์หากมารดา
ใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
http://teno.exteen.com/20060512/xanax


Sunday, July 31, 2011

EndOfJuly

สิ่งที่ต้องเพิ่ม
-การวางแผน
-การกระทำตามแผน
-ความอ่อนน้อมถ่อมตน
-วินัย

สิ่งที่ต้องลด
-ความมั่นใจ
-ความสุขที่ไขว่คว้า
-น้ำหนัก
-social networking

Sunday, July 17, 2011

Direction

di·rec·tion  (d-rkshn, d-)
n.
1. The act or function of directing.
2. Management, supervision, or guidance of an action or operation.
3. The art or action of musical or theatrical directing.
5. An instruction or series of instructions for doing or finding something. Often used in the plural.
6. An authoritative indication; an order or command.
7.
a. The distance-independent relationship between two points in space that specifies the angular position of either with respect to the other; the relationship by which the alignment or orientation of any position with respect to any other position is established.
b. A position to which motion or another position is referred.
c. A line leading to a place or point.
d. The line or course along which a person or thing moves.
8. The statement in degrees of the angle measured between due north and a given line or course on a compass.
9. A course or area of development; a tendency toward a particular end or goal: charting a new direction for the company.
แปลกดีที่คำว่า Direction มีความหมายทั้ง ทิศทาง และ การจัดการ อยู่ในความหมายของคำๆเดียว
นี่แปลว่า คนเราต้องมีการจัดการในการไปสู่เป้าหมาย??

เคยมีคนเล่าว่า ถ้าคนเรามีเป้าหมาย เราต้องเดินไปตามเส้นทาง อย่าโอ้เอ้
เช่น
หากเราจะขับรถไปหัวหิน เพื่อพักผ่อน
ก็ต้องออกเดินทางมุ่งไปยังทิศทางที่สู่หัวหิน
วิ่งไปบนถนนที่อ้อมน้อยที่สุด รถไม่ติด ถนนไม่ชำรุดเสียหาย
อาจจะมีหยุดพักบ้างหากมันจำเป็นต่อการเดินทาง
ขับรถด้วยความเร็วที่เหมาะสม

จะไปอ้อม เลือกเส้นทางมั่วๆ ถนนชำรุด แวะพักตลอดทาง เจออะไรก็แวะ
ขับช้าเกินไป ย้อนกลับมาตั้งต้นใหม่ ไร้สาระอะไร ก็ไม่ได้

ชีวิตมันก็ไม่ได้ซับซ้อนเข้าใจยากอะไร

Planning n Opportunity

Planning & Opportunity

 สิ่งที่เข้ามาง่ายๆ แต่ถ้าไม่ไขว่คว้าวไว้ก็จะเสียมันไปง่ายๆ 
การที่คุณไม่ทำอะไรเลย ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่เสียอะไรไปในชีวิต


จริงๆคำนี้ภาษาไทยใช้คำว่า จังหวะ และ โอกาส ทำให้คนเราคิดว่า เมื่อจังหวะมาถึง
เราก็จะมีโอกาสเอง  แต่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Planning & Opportunity มากกว่า

คือ คุณต้องเตรียมพร้อม  รอจนกว่าโอกาสจะมาถึง


ชีวิตผม ใช้วิธี waiting for opportunities มานานแล้ว และพอมันมาถึงก็ไขว่คว้ามาไม่ได้


อย่าลืมคำว่า Planning นะครับ แล้ว Opportunity มันจะมาเอง
อย่าผิดพลาดเหมือนผม

Saturday, June 11, 2011

Sex & Zen 3D (2011)

*** ป.ล. จริงๆแล้วที่ผมไปดู เพราะมีคนอยากให้ Review หนังนะครับ  จริงๆแล้วไม่ได้อยากไปดูเท่าไร ***

ย้อนหลังเรื่องนี้ ดู Sex & Zen ภาค1 ตอนที่ไปเรียนต่อ แล้วว่าง ไม่มีอะไรทำ ไปยืม DVD รุ่นน้องมาดู.... เจอเรื่องนี้เก็บไว้อย่างซ่อนเร้นบนชั้น... ก็เลยยืมไปดู หึหึหึ รุ่นน้องเดินมาบอกว่า เรื่องนี้ห้ามยึดไปนะพี่ ผมชอบ

                เรื่องนี้เป็นตำนานอย่างดี เพราะไปคุยกับเพื่อนร่วมชั้นคนสิงคโปร์ คนฮ่องกง ออสเตรเลีย แคนาดา ก็รู้จักเรื่องนี้กัน คุยรำลึกความหลังได้นานสองนาน โดยเฉพาะนางเอกทรงโตอย่าง Amy Yip ที่ทุกคนพูดถึง แม้ว่า Sex & Zen ภาคแรกจะสร้างในปี 1991 แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นเรื่องโปรดอยู่    ท้ายที่สุดก็เอาไปคืนตามที่มันขอไว้ว่า เรื่องนี้มันหวง (ยืมไป3เดือน)   ต่อมาก็ไป Download Bit ภาค 2 และ ภาค 3 มาเก็บไว้ (แน่นอนว่าDownloadภาค1เก็บไว้ด้วย)   ภาค1 ก็เยี่ยมที่สุด


                ความรู้สึกตอนที่ได้ข่าวการสร้างภาคที่4ของเรื่องนี้ ชื่อเต็มๆ 3D Sex and Zen: Extreme Ecstasy  ก็รู้สึกเฉยๆขำๆ โดยเฉพาะที่บอกว่าจะทำเป็น 3D  ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม ใจหนึ่งก็คิดว่า ประเทศไทย คงไม่มีทางได้ดูในโรงหนัง แต่กลับมาสนใจจริงๆ ตอนที่ทราบว่า มันได้ฉายว่ะ ประเทศไทย คุณทำได้ (แต่ก็มีการตัดต่อบางส่วนล่อแหลมออกไป) 

                ตอนแรกนึกว่าจะฉายเพียง 1-2 โรงที่หาดูยาก เช่น House หรือ Lido แต่พอทราบว่า ฉายทั่วไปในโรงMajor ก็ยิ่งอำนวยความสะดวกในการไปดู แถมได้ข่าวว่า เต็มแล้วเต็มอีก ก็เลยเข้า Website ไปจองที่นั่งไว้โรงหนังใกล้บ้าน 

                มันเป็นความภูมิใจข้างในลึกๆ ที่สามารถดูหนัง ที่มีตรา ฉ-20+ ได้ในประเทศไทย !!!!! ภูมิใจที่ได้ดูหนังโป๊อย่างเปิดเผย ไม่ต้องหลบซ่อน ไม่ต้องดูในที่รโหฐาน

ความคาดหวังก่อนดู น้อยมาก เนื่องด้วยเข้าใจว่า น่าจะ Soft ลงเยอะ และฉาก3D น่าจะไม่มีอะไรมากมาย โรงหนังคนน้อย 90%มาเป็นคู่ แต่ค่าตั๋ว 260 บาทก็แพงมากพอควร

                หนังรักษาอารมณ์ตลกฮ่องกงกำลังภายในได้ดีมาก ฮาแบบรำลึกความหลัง ตัวละครเอกลักษณ์หนังกำลังภายในฮ่องกงยังมีอยู่เพียบ  คนรับใช้  สาวใช้ ตัวร้ายหน้าโหด ตัวประกอบลูกกระจ๊อก  มุขแป๊กๆที่ขยายความฮาโดยพันธมิตร (ผมบอกไปหรือยังว่าพากย์โดย พันธมิตร) 

                หนังมีฉากรักซาบซึ้ง ฉากต่อสู้ และ ฉากจบที่มีคติสอนใจพอสมควร ทำให้หนังดูมีเรื่องราวบ้าง (แม้ว่าเรื่องราวที่ใส่มาจะไม่ได้เข้ากับเรื่องเลย)   ซาบซึ้งกับคติสอนใจตอนจบมาก ว่า ความรักสำคัญกว่าเพศสัมพันธ์

                หนังมีความเป็น 3D ที่ยอดเยี่ยมมาก ดูแล้วรู้สึกว่าเป็น 3D เกือบทุกฉาก มีความตื้นลึกมิติ ทำให้ดูแปลกใหม่กว่าหนัง2ทั่วไป เหมือนไปยืนดูอยู่ข้างๆ ฉากปาสิ่งของ ฉากหน้าอกเด้งดึ๋ง หรือ ฉากน้ำ(จริงๆ)สาดกระจายก็ทำดี   ภาค5ขอเป็นโรง 4D แบบในต่างประเทศ ที่มีเก้าอี้สั่นได้ ลมเย็นลมร้อนเป่าหน้า และ มีน้ำฉีดมาใส่คนดู จะได้อารมณ์ดีกว่านี้

                เป็นหนังที่ถ่ายผู้หญิงสวยมาก คัดมาเป็นอย่างดี ตัวนางเอก4คน คัดมาได้คุณภาพคับแก้ว (เต็มcup) แสดงอย่างเต็มที่ ทุกคนเล่นน่ารักมาก คุ้มค่ากับค่าตั๋ว Sexyยั่วยวนเป็นอย่างดี ส่วนบทพระเอกหรือตัวร้ายก็ช่างมันเหอะ!! (ฮา)  ตอนดูก็จินตนาการ ตัดหน้าพระเอกมันทิ้ง แล้วเอาหน้าตัวเองไปใส่แทน 

                หนังไม่ผิดหวัง แสดงฉากรักถึงพริกถึงขิง ทั้งเรื่อง มีทั้งที่ซาบซึ้ง ฮา อลังการ รุนแรง ฯลฯ โดยไม่มีหลุดอวัยวะเพศออกอากาศ (ยกเว้นบางอย่างที่มีผลต่อเนื้อเรื่องหลัก) มุมกล้องสวยงาม มีความเป็น Fantasy อยู่มาก มีZoomเข้า Zoomออกได้เป็นอย่างดี คนตัดต่อหนังเอาภาพไม่เหมาะสมออกได้ดี คือไม่ได้ตัดทั้งเรื่องจนเนื้อหากระโดด แต่ตัดเฉพาะฉากที่มีปัญหาทิ้ง นับว่าตัดต่อได้เนียนมาก

                สรุป แนะนำให้ไปดูครับเป็นหนังที่ทำออกมาได้ดี แปลกใหม่ เหมือนย้อนเวลากลับไปวัยรุ่นเหมือนเดิม
                 ป.ล. ผมไม่คิดว่า หลังจากการดูหนังเรื่องนี้ คนทั่วไป หรือ ผมจะมีจิตใจต่ำทรามลง อยากจะไปก่อคดีทางเพศแต่อย่างใด  ผมมีวุฒิภาวะเพียงพอในการควบคุมตัวเองในสังคม  มันเป็นแค่เพียงเสี้ยวหนึ่งของประสบการณ์แบบทุติยภูมิทีเรียนรู้ผ่านหน้าจอแค่นั้นเอง  

คนอื่นที่ Review ไว้เหมือนกัน  @kajochi  
                          รีวิว: Sex & Zen 3D - Extreme Ecstasy [20+] ... มันลอยออกมา