Saturday, December 28, 2013

การเมืองไทย1

ปัญหาหลักของสังคมไทยในช่วงนี้ คงเป็นปัญหาการเมือง

แต่สาเหตุของปัญหาการเมือง  คงเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนไทย
หรือจะพูดให้ชัดๆกว่านี้ คือปัญหาความแบ่งแยกระดับชั้นจนเกิดแนวคิดความเชื่อผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน ของคนหลายกลุ่ม จนอาจจะสร้างความไม่เข้าใจกัน หรือความเห็นที่ขัดแย้งกัน
จนมีวาทกรรมที่สามารถเรียกได้ว่า อีกฝ่ายชั่ว อีกฝ่ายเลว อีกฝ่ายโกง และไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองการปกครอง

แต่ถ้ามองอีกที  แกนนำ หรือ ผู้นำของการเมืองไทยทุกสีทุกขั้ว ก็คือ  คนกลุ่มเล็กๆชนชั้นเดียวกัน หรือพวกนักการเมือง  ที่มาปลุกระดม คนกลุ่มของตัวเองให้ออกมาแสดงพลัง แสดงกำลัง หรือ ออกมากดดันอีกฝ่ายหนึ่ง กดดันเจ้าหน้าที่ของรัฐ กดดันตำรวจ กดดันทหาร  ให้แสดงออกตามที่คนกลุ่มเล็กๆนั้น ต้องการ



ไม่ว่าจะเห็นการประท้วงกี่ครั้ง เราจะสามารถแบ่งแยกผู้ชมนุมเป็นคนกลุ่มย่อยๆ ดังนี้
1. แกนนำผู้ชุมนุม
             -พวกที่ขึ้นเวทีไปทำกิจกรรมสะเทือนใจ ตื่นเต้น พูดจาสะเทือนอารมณ์ ประนามฝ่ายตรงข้ามว่าเลว
2. นายทุนการชุมนุม+ผู้สนับสนุนเบื้องหลัง+นักยุทธศาสตร์
             -เราอาจจะไม่รู้ว่าพวกนี้เป็นใคร เพราะไม่จำเป็นต้องออกหน้า แต่เราต้องทราบว่า การชุมนุมมีค่าใช้จ่ายเยอะ และอาจจะต้องได้รับการวางแผนจากนักกลยุทธ์มาอย่างดี
3. ผู้ประท้่วงขาประจำ
             - จะเป็นพวกที่ตั้งเต๊นท์ นอนค้าง ทำกับข้าว อยู่ร่วมกับผู้ชุมนุม อาจจะต่อสู้โดยมีปัญหาของตนเอง เช่น ที่ดินทำกิน ความยากจน และหวังว่า เมื่อม๊อบนี้ชนะแล้ว อาจจะช่วยแก้ปัญหาความเรียกร้องของตนเองได้บ้าง  หรืออาจจะรับจ้างมาร่วมชุมนุม  อันนี้ก็ไม่ทราบได้
4. ผู้ประท้วงขาลุยผู้รักความรุนแรง
            - ไม่รู้ไปหาคนพวกนี้มาจากไหน แบ่งหน้าที่กันทั้งรักษาความปลอดภัย ทั้งเป็นทัพหน้าเสี่ยงตาย อาจจะมีอาวุธประจำตัว เช่น ปืน มีด กระบอง ธงชาติ(?) ก้อนหิน หนักสติ๊ก ฯลฯ โดยมากมักเป็นผู้ชาย แต่ชุดดำ แต่งกายมิดชิด มีผ้าหรือสัญลักษณ์ตามthemeของม๊อบผูกตามตัวบ้าง   พฤติกรรมจะพร้อมที่แสดงออกถึงความรุนแรง บางม๊อบอาจจะใช้เด็ก หรือผู้หญิงเป็นทัพหน้าบ้างหากมีการปะทะ  
5. ผู้ร่วมชุมนุม 
         แบ่งได้หลายจำพวก เช่น
  • พวกหน่วยงานที่มาร่วมชุมนุมตามมติของหน่วยงาน เช่น สหภาพแรงงานต่างๆ หรือ ชมรมนักศึกษามหาวิทยาลัย ฯลฯ
  • พวกที่รักแกนนำมาก เช่น รักน้องตั๋น 
  • พวกที่เกลียดฝ่ายตรงข้ามเข้าเส้น  เช่น เกลียดอีปูว์
  • พวกที่รักสถาบัน หรือความเชื่อ เช่น รักประชาธิปไตย เราเป็นคนดี 
  • พวกที่รู้สึกว่า ตัวเองเสียประโยชน์ในปัจจุบัน เช่น เห็นว่าจำนำข้าวทำชาติล่มจม
  • พวกที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง หรือ การร่วมชุมนุมจะแก้ปัญหาได้
  • พวกที่แกนนำหรือนายทุนเชิญมาจากที่อื่นๆ หรือ ผู้ชุมนุมนอกพื้นที่ เช่น มาจากต่างจังหวัด อาจจะเดินทางโดยรถตู้ รถทัวร์ รถไฟมาเป็นกลุ่ม 
  • พวกที่รับข่าวสารแล้วอยากมาร่วมชุมนุุม เช่น ข่าวทีวี หนังสือพิมพ์ Social media
  • พวกที่มาตามเพื่อน ตามคนรู้จัก เช่น แม่ที่มาเป็นเพื่อนลูก  ลูกที่พาพ่อมาชุมนุม มากับแฟน
  • พวกอื่นๆ ที่ไม่มีอุดมการณ์หรือความเชื่อใด แต่อยากมาร่วมชุมนุมเพื่อประสบการณ์หรือความสนุกสนาน หรือ ความเอร็ดอร่อย                
6. ผู้ร่วมอำนวยความสะดวก และ อื่นๆ  
            - แม่ค้าขายของ  แพทย์ พยาบาล แม่ครัว  ถือว่าเป็นผู้มาประกอบอาชีพ สร้างรายได้จากการชุมุนม

เนื่องจากคนพวกนี้มีหลายกลุ่ม หลายความเห็น รวมถึงอาจจะต้องการแค่มีการมีส่วนร่วม หรือ แสดงออกบางอย่าง  แต่ส่วนใหญ่ก็จะโดนแกนนำปลุกระดม หรือ นับรวมเป็นเสียงสนับสนุนที่แกนนำต้องการ ส่วนใหญ่ที่ไปแล้ว จะถูกอ้างอิงว่า เห็นด้วยกับทุกอย่างที่แกนนำต้องการ และ โดนใช้เป็นข้ออ้างถึงการชุมนุมโดยสงบ  (โดยไม่พูดถึงการกระทำที่ใช้ความรุนแรง) 

นอกจากนี้ เนื่องด้วยผู้ชุมนุมมีหลายกลุ่ม หลายวัตถุประสงค์ เราจึงไม่ควรเหมารวม  ว่าผู้ชุมนุมคือใคร ผู้ชุมนุมต้องการอะไร ผู้ชุมนุมเป็นคนดี  ผู้ชุมนุม เป็นคนเลว  หรือ ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง  แต่เราต้องพยายามทำความเข้าใจ  พยายามเข้าถึงปัญหา  ให้การศึกษา หรือ แก้ไขปัญหาให้ผู้ชุมนุมด้วย  สร้างความเข้าใจในภาพรวมแก่ผู้ชุมนุม  เช่น
ผมรู้ว่า คุณคิดว่ากาารเมืองไทย มีปัญหา แต่ว่า สิ่งที่คุณทำคืออะไร  คุณกำลังดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาหรือไม่  หรือ คุณเข้าใจวัคถุประสงค์ของการชุมนุมครั้งนี้หรือไม่  คุณเห็นด้วยกับแกนนำหรือแนวทางครั้งนี้มากน้อยแค่ไหน

อย่างน้อยก็หวังว่า สิ่งที่คุณพยายามทำ  สิ่งที่คุณต่อสู้เพื่อ  สิ่งที่คนอื่นต้องอดทนโดนพวกคุณลิดรอนสิทธิ มันจะคุ้มค่าพอ




ป.ล. อันนี้ไม่เกี่ยว แต่พยายามยัดเยียดว่าเกี่ยวข้องละกัน (เกี่ยวกับ money และ inequality)

 
(อย่างอื่นต่อตอนหน้า)

No comments:

Post a Comment